แคตตาล็อกออนไลน์

ถังบำบัดน้ำเสีย

หมวดหมู่สินค้า :  ถัง
ตราสินค้า :  New Star
คำค้นสินค้า :  ถังบำบัดน้ำเสีย

ถังดักไขมันใต้ซิงค์

m.jpg

รายละเอียดผลิตภัณฑ์ (Product Specification)
ถังดักไขมัน NEWSTAR ใช้สำหรับแยกไขมันและเศษอาหารที่ปนมากับน้ำเสียจากการประกอบอาหารก่อนที่จะ ผ่านไปยังกระบวนการบำบัดน้ำเสียในขั้นต่อไป โดยวัสดุทำจาก Polyethylene ชนิดพิเศษที่มีความแข็งแรงและมีความยีดหยุ่นสูง ดูแลสะดวก เหมาะกับสถานที่ของท่าน จะดูสะอาดและถูกสุขอนามัย

ภายในประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
1. ตะแกรงดักเศษอาหาร วัสดุทำจากสแตนเลส แข็งแรง ทนทาน ไม่เกิดสนิม ทำหน้าที่กรองและดักเศษอาหารออกจากน้ำทิ้ง สามารถถอดทำความสะอาดได้ง่าย
2. ส่วนดักไขมัน ทำหน้าที่แยกไขมันออกจากน้ำใส โดยไขมันจะลอยอยู่ที่ผิดด้านบนของถัง โดยจะมีท่อระบายไขมัน ทำหน้าที่ระบายไขมันทิ้งลงในภาชนะหรือถุงดำต่อไป

m1.jpg

2016-12-09_160633.jpg

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ถังบำบัดน้ำเสียแนวตั้งฝังดิน

i.jpg

NEW STAR ถังบำบัดน้ำเสียระบบใหม่
ถังบำบัดน้ำเสีย NEW STAR เป็นระบบบำบัดน้ำเสียชนิดไม่เติมอากาศ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเกรอะ และส่วนกรอง  ในส่วนเกรอะ(Septic Zone) เมื่อน้ำเสียไหลเข้าในถัง ส่วนเกรอะจะเป็นส่วนแยกกากและตะกอน โดยตะกอนหนักจะตกลงสู่ส่วนล่างของถัง ส่วนตะกอนเบา หรือตะกอนแขวนลอย จะลอยสู่ด้านบน และจะถูกกักเก็บไว้ไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมง แล้วจึงไหลผ่าน ไปยังส่วนที่ 2 เรียกว่า ส่วนกรอง (Filter Zone) ซึ้งน้ำเสียจะไหลผ่านตัวกรอง (Media) อันจะเป็นส่วนที่อาศัยของจุลินทรีย์จำพวกที่ไม่ต้องการอากาศ ซึ้งจะทำการย่อยสลายกากตะกอนชิ้นเล็กๆ อีกครั้ง เพื่อให้น้ำที่ถูกกักในส่วนนี้ไหลผ่านออกไปสู่ลำธารสาธารณะได้อย่างไม่ทำลาย สิ่งแวดล้อม พร้อมคุณสมบัติอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งติดตั้งง่าย สะดวกไม่ยุ่งยาก หมดกังวลเรื่องกลิ่นเหม็น ดูแลรักษาง่าย ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า หรือเติมสารเคมี ที่สำคัญราคาประหยัดกว่าที่คุณคิด

2016-12-09_160855.jpg

i1.jpg

i2.jpg

i3.jpg

ด้วยเหตุนี้ ถังบำบัดน้ำเสีย NEW STAR จึงคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งจะช่วยขจัด ปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป ด้วยการออกแบบให้ห้องทั้งสองแยกออกจากกันโดย ไม่ใช้การเชื่อมพลาสติกเลยระบบใหม่นี้เราเรียกว่า"ระบบถังซ้อน" นั่นคือจะมีถังใบเล็กซ้อนอยู่ในถังปกติอีกชั้นหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นห้องกรอง มีลักษณะเป็นแคปซูลเจาะรูด้านล่าง เพื่อให้ของเสียในส่วนสุดท้าย ไหลเข้าไปบำบัดในห้องกรองทางรูนี้ ส่วนด้านข้างจะต่อกับท่อน้ำทิ้ง เพื่อระบายน้ำออกทิ้งต่อไป

i4.jpg

i5.jpg

ถังใบเล็กนี้จะประกอบเข้ากับถังใบใหญ่ ด้วยการใช้สกรูยึด สามารถถอด ประกอบได้เมื่อจำเป็นข้อดีของระบบนี้ก็คือ มีความแข็งแรง ,การทำงาน สมบรูณ์แบบกว่า เพราะห้องกรองอยู่กลางถังของเสียในห้องเกรอะ จึงหมุนเวียนได้ดีกว่า อีกทั้งยังมีเนื้อที่บรรจุของเสียได้มากกว่าด้วย อนึ่งการดูดถ่ายตะกอนของเสียทิ้งทำได้ง่ายกว่า ถ้าเป็นระบบเดิม (แบบใช้ผนังกั้น) จะต้องเปิดฝาถังดูดแต่ในระบบถังซ้อนไม่ต้องเปิดฝาถัง เพราะจะมี"ท่อดูดตะกอน" แยกมาให้ต่างหาก โดยจะติดตั้งอยู่ข้างถัง ทำให้การดูแลง่ายขึ้น ท่านสามารถใช้ข้อต่อ PVC ต่อจากท่อดูดตะกอน ขึ้นมาไว้บนพื้นห้องน้ำ หรือพื้นคอนกรีตในส่วนอื่นๆของบ้าน แล้วครอบด้วยฝาทองเหลือง(ปัจจุบันนี้อาจจะเป็นฝาพลาสติก) 

i6.jpg

ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ทำให้ท่านตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า ท่านจะเลือกควร จะเลือกใช้ถังแบบใด ซึ่งท่านควรจะศึกษาข้อดีข้อเสียของถัง แต่ละยี่ห้อก่อนพิจารณาซื้อ

i7.jpg

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พลาสติกมีเดีย ชนิด Palling

o.jpg

2016-12-09_162420.jpg

2016-12-09_162430.jpg

o3.jpg

พลาสติกมีเดีย Model : NS-240

2016-12-09_162726.jpg

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ถังบำบัดน้ำเสียทรงแคปซูลขนาดใหญ่

l.jpg

ถังบำบัดน้ำเสียชนิดเติมอากาศ (Aerobic Treatment Tank)

คุณสมบัติทั่วไป 
ผลิต จากวัสดุcomposite materialชนิดเส้นใยแก้วไฟเบอร์กลาสคุณภาพสูงเสริมแรงด้วยโพลีเมอร์ชนิดคัด พิเศษ(Fiberglass Reinforced Polyester)โดยกรรมวิธีการผลิตอันทันสมัย โดยใช้เครื่องจักรพันไขว้(Filament Cross Winding Method) คำนวน ควบคุมอัตราส่วนเส้นใยและโพลีเมอร์อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้ได้โครงสร้างตัวถังแข็งแรง ทนทาน น้ำหนักเบา ตัวโพลีเอสเทอร์ทนทานต่อการกัดกร่อนของน้ำเสียและสารเคมี ทนความร้อนและอุณหภูมิสูงของน้ำเสียได้ดี อายุการใช้งานยาวนานกว่า20ปี 
เหมาะ สำหรับ อาคารขนาดใหญ่ เช่น อพาร์ทเมนต์ คอนโดมีเนียม อาคารสำนักงาน อาคารพานิชย์ โรงงาน โรงพยาบาล ที่ต้องการบำบัดให้น้ำทิ้ง มีค่าความสกปรกผ่านเกณฑ์กำหนดสูงสุดตามประเภทมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง อาคารประเภท ก-ง

l2.jpg

คุณสมบัติเด่น
1.วัสดุที่นำมาผลิตจากโรงงานผู้ผลิตมาตรฐานISO
2.เรซิ่นที่ใช้ไม่มีส่วนผสมวัตุดิบรีไซเคิล
3.โครงสร้างถังไม่มีสารผสมเพื่อเพิ่มความหนา

l2.jpg

คุณสมบัติเด่นของ"Newstar"
สำหรับ ถังขนาดใหญ่ ตัวถังผลิตโดยกระบวนโดยใช้เครื่องจักรพันไขว้(Filament Cross Winding Method)ควบคุมอัตราส่วนเส้นใยและโพลีเมอร์อย่างเหมาะสม ทำให้ได้โครงสร้างแข็งแรง ฝาถัง คอถังและขารองรับถัง ผลิตจากโดยวิธีแฮนด์เลย์(Hand Lay UP)และเป็นเนื้อเดียวกับตัวถัง

หลักการทำงานของถังบำบัดน้ำเสียชนิดบำบัดเติมอากาศ
เป็นแบบถังรวมที่ประกอบด้วย
1)ส่วนเกรอะ 
2)ส่วนบำบัดไร้อากาศ 
3)ส่วนตกตะกอนในใบเดียวกัน

ส่วนที่ 1.Seption Zone อาศัยหลักการตกตะกอน และ การย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยการแยกตัวเองของแข็งที่ปนอยู่ในน้ำทิ้งและการย่อยสลายตะกอนจมและตะกอน ลอย(Digestion Of Sludge And Scum)โดยแบคทีเรียที่อยู่ก้นถังและภายในถัง ตามขบวนการย่อยสลายแบบไร้อากาศเกิดก๊าชมีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไฮโดรเจน เชลล์ใหม่ น้ำ ความร้อน ปุ๋ย จนกระทั้งเหนือตะกอนส่วนน้อยที่จะแปลสะภาพเป็นกากตะกอนคงตัวที่ไม่ย่อยสลาย อีกต่อไป
ส่วนที่ 2. Fixed Film Aeration Zone เป็นส่วนที่ย่อยสลายสารอินทรีย์แบบเติมอากาศ ภายในส่วนนี้จะมีตัวกลาง( Bio cell) เพื่อให้จุลินทรีย์ชนิดใช้อากาศ(aerobic Bacteria) จะบำบัดน้ำ ที่ผ่านจาก Septic Zone เพื่อการย่อยสลายสารอินทรีย์ยึดเกาะเป็นฟิล์มชีวภาพให้มีประสิทธิภาพดียิ่ง ขึ้น ในส่วนนี้จะมีประสิทธิภาพในการบำบัดถึง 80-85 %น้ำที่ผ่านการบำบัดจะมีค่าบีโอดีต่ำ สามารถปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะได้ 
ส่วนที่ 3. Sedimentetion Zone หลักการทำงานของส่วนตกตะกอน เพื่อแยกตะกอนจุลินทรีย์ออกจากน้ำที่บำบัดแล้วให้ได้น้ำใส ก่อนระบายลงสู่ลำรางสาธารณะต่อไป

ส่วนประกอบถัง
1. ฝาถัง TANK COVER
2. ท่อน้ำเข้า INLET
3. ท่อน้ำออก OUTLET
4. เครื่องเติมอากาศ AIR BLOWER
5. ท่อจ่ายอากาศ AIRVENT
6. RIB
7. ขาตั้ง STAND
8. ข้อต่ออ่อน FLEXIBLE JOINT
9. ท่อระบายอากาศ AIRVENT

2016-12-09_163241.jpg

2016-12-09_163315.jpg

สำหรับน้ำเสียชุมชน(Domestic Waste) BOD in = 250 mg/l ,BOD out =20 mg/l

หลักการทำงานของถังบำบัดน้ำเสียชนิดบำบัดเติมอากาศ แบบที่2 
เป็นแบบถังรวมที่ประกอบด้วย
1)ส่วนเกรอะ 
2)ส่วนบำบัดไร้อากาศ 
3)ส่วนเติมอากาศ
4)ส่วนตกตะกอนในใบเดียวกัน

ส่วนที่ 1.Seption Zone อาศัยหลักการตกตะกอน และ การย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยการแยกตัวเองของแข็งที่ปนอยู่ในน้ำทิ้งและการย่อยสลายตะกอนจมและตะกอน ลอย(Digestion Of Sludge And Scum)โดยแบคทีเรียที่อยู่ก้นถังและภายในถัง ตามขบวนการย่อยสลายแบบไร้อากาศเกิดก๊าชมีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไฮโดรเจน เชลล์ใหม่ น้ำ ความร้อน ปุ๋ย จนกระทั้งเหนือตะกอนส่วนน้อยที่จะแปลสะภาพเป็นกากตะกอนคงตัวที่ไม่ย่อยสลาย อีกต่อไป
ส่วนที่ 2. Anaerobic Bio Filter Zone เป็นส่วนที่ย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศ ภายในส่วนนี้จะมีตัวกลางชีวภาพ ( Bio Media ) เพื่อให้จุลินทรีย์ชนิดไร้อากาศ(Anaerobic Bacteria) จะบำบัดน้ำที่ผ่านจาก Septic Zone เพื่อการย่อยสลายสารอินทรีย์ยึดเกาะเป็นฟิล์มชีวภาพให้มีประสิทธิภาพดียิ่ง ขึ้น น้ำที่ผ่านการบำบัดจะมีค่าบีโอดีต่ำ สามารถปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะได้
ส่วนที่ 3. Fixed Film Aeration Zone เป็นส่วนที่ย่อยสลายสารอินทรีย์แบบเติมอากาศ ภายในส่วนนี้จะมีตัวกลาง( Bio cell) เพื่อให้จุลินทรีย์ชนิดใช้อากาศ(aerobic Bacteria) จะบำบัดน้ำ ที่ผ่านจาก Septic Zone เพื่อการย่อยสลายสารอินทรีย์ยึดเกาะเป็นฟิล์มชีวภาพให้มีประสิทธิภาพดียิ่ง ขึ้น ในส่วนนี้จะมีประสิทธิภาพในการบำบัดถึง 80-85 %น้ำที่ผ่านการบำบัดจะมีค่าบีโอดีต่ำ สามารถปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะได้

ส่วนที่4. Sedimentetion Zone หลักการทำงานของส่วนตกตะกอน เพื่อแยกตะกอนจุลินทรีย์ออกจากน้ำที่บำบัดแล้วให้ได้น้ำใส ก่อนระบายลงสู่ลำรางสาธารณะต่อไป

2016-12-09_163418.jpg

l6.jpg

หลักการทำงานของถังบำบัดน้ำเสียรวมส่วนเกรอะ ส่วนกรองชนิดไม่เติมอากาศ
ส่วนประกอบถัง

1. ท่อน้ำเข้า INLET 
2. ข้อต่ออ่อน FLEXIBLE JOINT
3. ท่อน้ำออก OUTLET 
4. คอและฝาถัง MANHOLE & COVER
5. ผนังกั้นห้องภายในถัง INTERNAL WALL
6. ตัวกลางพลาสติกชนิดมีพื้นที่ผิวสูง แบบ CROSS FLOW
7. ท่อระบายอากาศ AIRVENT
8. ขาตั้ง STAND

 

ส่วนเกรอะ SEPTIC CHAMBER
ออกแบบให้มีประสิทธิภาพในการแยกกากหนักและกากเบาออกจากน้ำเสีย ก่อนไหลเข้าสู่ส่วนบำบัดอื่นต่อไป

ส่วนกรองไร้อากาศ ANAEROBIC FILTERTRATION CHAMBER
เป็น ขบวนการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ โดยอาศัยแบคทีเรียชนิดไม่ใช้อากาศ ( ANAEROBIC BACTERIA ) ซึ่งสามารถลดความสกปรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ แบคทีเรียที่เกาะอยู่บนตัวกลางพลาสติก (CROSS FLOW)ชนิดที่มีความเหมาะสมระหว่างพื้นผิว และช่องว่าง อีกทั้งมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน จึงไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนตลอดอายุการใช้งาน

สำหรับน้ำเสียชุมชน(Domestic Waste) BOD in = 250 mg/l ,BOD out =20 mg/l

อุปกรณ์มาตรฐาน (Standard Equipment)

l7.jpg

ฝาถัง:Manhole
พร้อมชุดแหวนรอง ทำจากวัสดุเอบีเอส(ABS)

l8.jpg

ท่ออ่อน:(Flexible Joint)
ใช้ต่อเข้ากับท่อน้ำเข้าและออกจากถังรองรับ
การบิดตัวของท่อ

l9.jpg

ตัวกลางชีวภาพ:Biomedia 
ชนิดpall ringผลิตจากวสดุโพลีเอททีลีน
สำหรับเพิ่มความหนาแน่นของจุลินทรีย์

ข้อควรรู้ 1 เมตร =100 เซนติเมตร ,1000 ลิตร=1 ลูกบาศก์เมตร 

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ถังบำบัดน้ำเสียทรงแคปซูลขนาดเล็ก

j.jpg

รายละเอียดสินค้า
เหมาะสำหรับอาคารที่มีพื้นที่แคบ หรือพื้นที่ที่มีปัญหาระดับน้ำใต้ดินสูง
คัด สรรวัสดุคุณภาพในการผลิต โดยผลิตจาก Composite Material ทำให้ตัวถังแข็งแกร่ง ทนทานกว่าถังไฟเบอร์กลาสทั่วไป ด้วยเทคโนโลยีการผลิต อันทันสมัย ควบคุมเครื่องจักรอัตโนมัติ และใช้ระบบการผลิตแบบเส้นใยต่อเนื่อง (Continuous Filament Winding) มีการเรียงตัวแบบ Sandwish Layer และเสริม Rib ขนาดใหญ่นอกตัวถังเพื่อรับแรงกดและแรงบีบได้ดี จึงได้ผลิตภัณฑ์ถังบำบัดน้ำเสียคุณภาพดีที่ได้มาตรฐานน้ำทิ้ง ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะต่อไป

2016-12-09_163931.jpg

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ถังดักไขมันชนิดฝังใต้ดิน

n.jpg

n2.jpg

New Star KITCHEN SERIES


รายละเอียดผลิตภัณฑ์ (Product Specification)
ถังดักไขมัน New Star  ใช้ สำหรับแยกไขมันและเศษอาหารที่ปนมากับน้ำเสียจากการประกอบอาหารก่อนที่จะผ่าน ไปยังกระบวนการบำบัดน้ำเสียในขั้นต่อไป โดยวัสดุทำจาก POLYETHYLENE ชนิดพิเศษที่มีความแข็งแรงและมีความยืดหยุ่นสูง ติดตั้งง่าย ดูแลสะดวก เหมาะกับสถานที่ของท่าน จะดูสะอาดและถูกสุขอนามัย

ภายในประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
1. ตะแกรงดักเศษอาหาร วัสดุทำจากสแตนเลสแข็งแรง ทนทาน ไม่เกิดสนิม ทำหน้าที่กรองและดักเศษอาหารออกจากน้ำทิ้ง สามารถถอดทำความสะอาดได้ง่าย
2. ส่วนดักไขมัน ทำหน้าที่แยกไขมันออกจากน้ำใส โดยไขมันจะลอยอยู่ที่ผิวด้านบนของถัง โดยจะมีท่อระบายไขมัน ทำหน้าที่ระบายไขมันทิ้งลงในภาชนะหรือถุงดำต่อไป

2016-12-09_164527.jpg

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พลาสติกมีเดีย Model : NS-110,NS-120

o.jpg

2016-12-09_165437.jpg

2016-12-09_165445.jpg

 

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พลาสติกมีเดีย Model : NS-240

o.jpg

2016-12-09_170002.jpg

 

o3.jpg

พลาสติกมีเดีย Model : NS-240

2016-12-09_170016.jpg

 


โปรดขอรายละเอียดหรือติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม