แคตตาล็อกออนไลน์

HEAT PUMP & HYBRID SYSTEM

ตราสินค้า :  ปานนิติ
คำค้นสินค้า :  heat pump & hybrid system
สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

HEAT PUMP & HYBRID SYSTEM ทางเลือกใหม่ของพลังงานหมุนเวียนเปลี่ยนความร้อนในอากาศมาเป็นน้ำร้อนและแอร์ แถมยังมีระบบฮีทปั๊มเพื่อลดค่าใช่จ่ายให้มากที่สุดและยังเพิ่มความปลอดภัย และยังมีความสะดวกสบายง่ายต่อการดูแลรักษา และยังได้ช่วยลดสภาวะโลกร้อน

ชุดสุดคุ้ม

h 16.jpg

h 17.jpg

h 18.jpg

 

แทรกปานนิติ.jpg

 

1. หลักการเบื้องต้น ฮีทปั้ม มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับระบบแอร์หรือเครื่องทำความเย็นโดยทั่วไป แต่การใช้งานหลักจะเน้นทางด้านความร้อน  โดยการดึงพลังงานความร้อนจากอากาศภายนอกผ่านทางวงจรสารทำความเย็น จากนั้นจะนำความร้อนที่ได้ไปผลิตน้ำร้อน จากหลักการนี้ ฮีทปั้มจึงมีประสิทธิภาพการทำความร้อนที่สูงกว่าการใช้เชื้อเพลิงโดยทั่วไปเช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือฮีทเตอร์ไฟฟ้า เนื่องจากพลังงานที่ใช้ส่วนใหญ่จะมาจากอากาศภายนอกซึ่งถือเป็นพลังงานได้เปล่า  ดังนั้นฮีทปั้มจึงถือเป็นทางเลือกที่ดีเยี่ยมเพื่อการประหยัดพลังงานสำหรับการผลิตน้ำร้อน เนื่องจากหลักการทำงานเช่นเดียวกับระบบแอร์โดยทั่วไป ฮีทปั้มจึงสามารถที่จะผลิตอากาศเย็นซึ่งเป็นผลผลอยได้ในระหว่างช่วงการผลิตน้ำร้อนอีกด้วย ซึ่งอากาศเย็นในส่วนนี้ยังสามารถที่จะนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น เป็นอากาศเติมในส่วนของระบบแอร์หลัก  จ่ายในส่วนพื้นที่ทำงานที่ต้องการการระบายอากาศ อาทิห้องครัว หรือห้องเครื่องจักร เป็นต้น ดังนั้นเพื่อการใช้งานอีทปั้มให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรที่จะมีความเข้าใจถึงหลักการเบื้องต้น การติดตั้ง การใช้งานและการบำรุงรักษา ซึ่งรายละเอียดเหล่าที่กล่าวถึงจะมีอยู่ในคู่มือการใช้งานฉบับนี้ 

2. ข้อกำหนดการใช้งาน ประสิทธิภาพของเครื่อง Heat Pump จะชึ้นอยู่กับอุณหภูมิอากาศที่ผ่านเครื่อง อุณหภูมิอากาศที่ลดลงจะส่งผลให้ประสิทธิภาพเครื่องลดลงตามไปด้วย  อุณหภูมิอากาศต่ำสุดสำหรับการทำงานของ Heat Pump ไม่ควรจะต่ำกว่า  15 oC ซึ่ง ณ.จุดนี้ความสามารถในการผลิตน้ำร้อนจะลดลง 40 % อุณหภูมิน้ำสูงสุดที่เครื่องผลิตได้จะถูกกำหนดโดยแรงดันใช้งานของสารทำความเย็น  เนื่องจาก Heat Pump ใช้สารทำความเย็นชนิด R134a ซึ่งมีแรงดันใช้งานที่ต่ำกว่าสารทำความเย็นชนิด R22  Heat Pump จึงสามารถผลิตน้ำร้อนได้ที่อุณหภูมิสูงถึง 70 oC ในการใช้งานเนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำในถังเก็บน้ำร้อนจะต้องต่ำกว่าอุณหภูมิน้ำที่ผลิตจาก Heat Pump ดังนั้นการกำหนดค่าอุณหภูมิของน้ำในถังที่ Temperature Controller สำหรับสั่งการทำงานของ Heat Pump ควรอยู่ระหว่าง 55 oC – 60 oC

3. คุณภาพน้ำ Heat Pump " Energy Master " จะใช้ตัวแลกเปลี่ยนความร้อนแบบ Plate Heat Exchanger เพื่อแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างสารทำความเย็นกับน้ำ เนื่องจากส่วนประกอบของ Plate Heat Exchanger และระบบท่อภายในเครื่องจะเป็นท่อทองแดง ดั้งนั้นคุณภาพน้ำที่นำมาใช้สำหรับทำน้ำร้อนจึงมีผลต่อ Heat Pump

วิธีทั่วไปสำหรับกำหนดคุณภาพน้ำคือค่า TDS (Total Dissolved Solids) มีหน่วยเป็น ppm Heat Pump ในรุ่นมาตราฐานสามารถใช้กับน้ำซึ่งมีค่าไม่เกิน 500 ppm TDS โดยที่ไม่มีส่วนผสมของซัลไฟร์ (เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟร์ ฯลฯ) และค่าส่วนผสมของคลอไรด์ไม่เกิน 200 ppm การใช้น้ำที่มีค่า TDS สูงกว่าค่าที่กำหนดจะส่งผลให้ตัวแลกเปลี่ยนความร้อนเกิดการอุดตัน หากค่าคลอไรด์สูงกว่าค่าที่กำหนดจะทำให้ตัวแลกเปลี่ยนความร้อน รวมถึงเครื่อง Heat Pump เกิดความเสียหาย หากคุณภาพน้ำเกินกว่าค่ากำหนดจะต้องใช้อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนแบบ Copper – Nickel Heat Exchanger หรือ All Stainless Steel Heat Exchanger  ติดต่อEnergy Master สำหรับเครื่องแบบพิเศษ กรณีเกิดการอุดตัวหรือ ก่อตัวของตะกรันภายใน plate heat exchanger  สามารถทำความสะอาดโดยใช้สารละลาย citric acid ที่ความเข้มข้น 5 % เข้าไปล้างหมุนเวียนทำความสะอาดภายในผ่านทาง service port ที่ตัวเครื่องหรือผ่านทางวาล์วแยกซึ่งติดตั้งในระบบท่อภายนอก

ข้อควรระวัง !  การใช้สารละลายความเข้มข้นสูงเกินไปจะทำให้ Plate Heat Exchanger เกิดความเสียหาย

กรณีพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในเรื่องคุณภาพน้ำ ควรมีข้อมูลน้ำซึ่งตรวจสอบไปควบคู่กันดังนี้

  • ระดับความเป็นกรด-ด่าง (PH) ?
  • ระดับของแคลเซียม (Calcium Level) ?
  • Alkalinity
  • ระดับของซัลไฟด์ (Sulfides) ?
  • ระดับของคลอไรด์ (Chlorides) ?

4. การกำหนดขนาด Heat Pump

การกำหนดขนาด Heat Pump สำหรับการใช้งานขึ้นกับปัจจัยดังต่อไปนี้

  • ขนาดของถังเก็บน้ำร้อน
  • อุณหภูมิน้ำร้อนที่ผลิตจากเครื่อง
  • อุณหภูมิน้ำในถังเก็บน้ำร้อน
  • ปริมาณการใช้น้ำร้อนต่อวัน
  • รูปแบบและช่วงเวลาการใช้งาน
  • อุณหภูมิอากาศและความชื้นของบริเวณที่จะติดตั้งเครื่อง

การเลือกขนาดเครื่องและถังเก็บน้ำร้อนที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในแต่ละรูปแบบ สามารถติดต่อได้ที่ Energy Master โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

5. การเลือกขนาดท่อลม พัดลมส่งลมเย็นที่ติดตั้งใน Heat Pump จะเป็นชนิดแบบ forward curved, double width, double inlet, centrifugal fan ซึ่งขับเคลื่อนผ่านชุดมอเตอร์และสายพาน  Heat Pump “ Energy Master “ รุ่น 25kW สามารถส่งลมเย็นปริมาณ 2,500 cfm ได้ที่ระยะท่อลม 30 ม. ตามลักษณะการออกแบบความดันลดที่ท่อลม 1 PA / m. สำหรับเครื่องรุ่นมาตราฐาน การออกแบบระยะและขนาดท่อลมที่ไม่เป็นไปตามคำแนะนำ จะส่งผลต่อความสามารถในการผลิตน้ำร้อนของเครื่อง  การเลือกขนาดท่อลมที่เหมาะสมสามารถติดต่อได้ที่ Energy Master โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

6. การตรวจสอบเครื่อง Heat Pump ก่อนการติดตั้ง การตรวจรับผลิตภัณฑ์ ณ. สถานที่ติดตั้งควรตรวจสอบความเสียหายของบรรจุภัณฑ์ และตัวเครื่อง  Heat Pump จะมีการเติมสารทำความเย็นและทดสอบจากโรงงาน  ควรตรวจสอบแรงดันสารทำความเย็นในเครื่องโดยสังเกตจาก Pressure Gauge ที่เครื่อง ( สำหรับรุ่น HHPM25 ) แรงดันในสภาวะปกติจะอยู่ระหว่าง 80 – 100 psig หากพบความผิดปรกติดังกล่าวควรแจ้งตัวแทนขายเพื่อการตรวจสอบหาสาเหตุต่อไป ควรตรวจสอบแผ่นป้ายแสดงผลิตภัณฑ์ที่เครื่อง แรงดันและกระแสไฟฟ้าที่ใช้เพื่อให้เหมาะสมกับแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าที่จ่ายแก่เครื่อง

7. ข้อมูลทางด้านเทคนิค

ข้อมูลทางด้านเทคนิคสำหรับ Heat Pump

  • Refrigerant: R134a
  • Refrigerant Charge: 2.6 kg. (Precharge) 
  • High Pressure Cutout: 2455 kPa (356 psig) for standard model
  • Low Pressure Cutout: 193kPa (28 psig)
  • Maximum Outlet Water Temperature: 70 oC (149F)
  • Minimum Ambient Air Temperature: 15 oC (59F)

 

ตัวอย่างผลงานการติดตั้ง

แทรก ฮีทปั้ม.jpg


โปรดขอรายละเอียดหรือติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม